มาตรฐานและผลงานหรือรางวัลที่ได้รับ

มาตรฐานข้าวฮางงอก

1.) องค์การอาหารและยา (อย.) 

“สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา” (Food and Drug Administration) มีหน้าที่ในการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางค์ ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ ได้รับการรับรองจาก อย. เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 สามารถสร้างความเชื่อถือมั่นใจให้กับกลุ่มผู้บริโภคในเรื่องความปลอดภัยของสารปนเปื้อน ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ มีเสถียรภาพในการจำหน่ายสินค้ามากยิ่งขึ้น


2.) ใบรับรองข้าว GI 

GI หมายถึง สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) การที่ชุมชนอาศัยลักษณะเฉพาะของพื้นที่ที่ตนอยู่ไม่ว่าจะเป็นสภาพดิน ฟ้า อากาศ วัตถุดิบที่มีในพื้นที่รวมไปถึงภูมิปัญญาที่สร้างสมสืบทอดกันมาในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ผลิตเป็นสินค้าที่มีคุณลักษณะพิเศษ ต่างจากสินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตในแหล่งอื่น ข้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยมี 9 สินค้า คือ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์ และข้าวไร่ลืมผัวเพชรบูรณ์ ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ ได้ใบรับรองเมื่อวันที่ 12สิงหาคม2554


3.) เครื่องหมายฮาลาล 

ฮาลาล เป็นเครื่องหมายรับรองฮาลาลเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรศาสนาอิสลามเท่านั้น คือคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด อาหารฮาลาลจึงเป็นเรื่องของความร่วมมือและผลประโยชน์ร่วมกันของ 3 ฝ่ายคือ มุสลิมผู้บริโภค ผู้ประกอบการและประเทศชาติ คือ

1.มุสลิมได้บริโภคอาหารฮาลาลที่เชื่อได้ว่าถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลาม มีคุณค่าอาหาร ถูกสุขอนามัย ปลอดภัยจากสิ่งต้องห้ามทางศาสนาอิสลาม (ฮารอม) และสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ

2.ผู้ประกอบการได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจโดยตระหนักถึงการผลิตอาหารฮาลาลที่ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลามและปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับรองฮาลาลอย่างเคร่งครัด ตลอดจนบริหารคุณภาพอาหารตามมาตรฐานฮาลาล

3.ประเทศชาติได้รับผลประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรัฐบาลให้การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลอย่างครบวงจรทั้งในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ ปัจจัยการผลิตของผู้ประกอบการการตลาดและการปรับปรุงกลไกการรับรอง "มาตรฐานอาหารฮาลาล" ขององค์กรศาสนาอิสลาม เพื่อส่งออกอาหารฮาลาลสู่ตลาดโลก

กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ ได้ผ่านการรับรองในปี 2558 จากเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการฮาลาล ซึ่งได้รับการประเมินตรวจสอบเป็นเวลา 3 วัน ดังนั้นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามสามารถรับประทานข้าวฮางงอกได้ ทำให้มีผลต่อการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อย่างมากเพราะจำนวนประชากรชาวอิสลามมีมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยทางกลุ่มจะต้องจ่ายเงินให้กับคณะกรรมการเครื่องหมายฮาลาล โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนปีละ15,000 บาท

4.) OTOP 5 ดาว 

OTOP เป็นการจัดระดับผลิตภัณฑ์ (ดาว) จัดโดยกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งจะมีการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย เป็นประจำทุกปี เริ่มมาตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา เจ้าของผลิตภัณฑ์ท่านใดที่สนใจเข้าร่วมการคัดสรรก็สมัครเข้าคัดสรรได้รายละ 1 ผลิตภัณฑ์ แยกเป็นประเภท อาหาร เครื่องดื่ม ผ้า/เครื่องแต่งกาย ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ที่กรมการพัฒนาชุมชน หรือพัฒนาการจังหวัดที่ภูมิลำเนาของท่าน สำหรับกรอบการคัดสรรสุดยอด OTOP ประกอบด้วย สามารถส่งออกได้ (Exportable) ผลิตอย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม (Continuous & Consistant) ความมีมาตรฐาน (Standardization) ประมวลความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ (Story of Product) ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ ได้รับรางวัล otop 5 ดาว วันที่ 1 มีนาคม 2556


5.) มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 

เป้าหมายหลักของการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ก็คือ การสร้างหลักประกันความมั่นใจให้กับผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ และการช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อหาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ได้อย่างถูกต้อง (โดยสังเกตจากตรารับรองเกษตรอินทรีย์) การตรวจสอบรับรองจึงเป็นกลไกที่ช่วยเอื้อประโยชน์ให้กับทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค โดยเฉพาะเมื่อตลาดเกษตรอินทรีย์เริ่มขยายตัว มักจะมีผู้ผลิตบางรายที่ไม่ได้ทำเกษตรอินทรีย์จริง แต่กลับกล่าวอ้างว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ การกระทำดังกล่าวสร้างความสับสนและความไม่เชื่อถือต่อเกษตรอินทรีย์โดยรวม นอกจากนี้ ผู้บริโภคจำนวนมากไม่มีโอกาสที่จะได้พบปะโดยตรงกับเกษตรกร หรือมีโอกาสในการสอบถามถึงขั้นตอนการผลิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริโภคที่อยู่ห่างไกลออกไป ดังนั้นการรับรองมาตรฐานจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเป็นการสร้างหลักประกันให้กับผู้บริโภคได้รับรู้ว่า ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่มีการผลิตตามกระบวนการเกษตรอินทรีย์จริง ทางกลุ่มได้รับรางวัลวันที่ 23 มกราคม 2550

ผลงานหรือรางวัลที่ได้รับ 

2 กันยายน 2554 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวฮางงอกหอมสกลทวาปี ได้รับรับเกียรติบัตร รางวัล POPULAR VOTE การประกวดคุณภาพข้าวฮาง ในงานมหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัยและเกษตรแฟร์นนทีอีสาน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

2 กันยายน 2554 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวฮางงอกหอมสกลทวาปี ได้รับเกียรติบัตรรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 การประกวดคุณภาพข้าวฮาง ในงานมหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัยและเกษตรแฟร์นนทีอีสาน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

27 มกราคม 2555 กลุ่มผู้ผลิตข้าวฮางงอกหอมทองสกลทวาปี ได้รับเกียรติบัตรเป็นผู้สาธิต เรื่องเทคนิคการหุงข้าวฮางให้อร่อยและคุณภาพดี ในงานวันเกษตรภาคอีสาน ประจำปี 2555 จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาลัยขอนแก่น ร่วมกับโครงการทำดีทุกวันจากดีแทคและสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันขอนแก่น

2 เมษายน 2555 คุณอภิญญา กลมเกลียว ได้รับโล่เชิดชูเกียรติวัฒนธรรมสัมพันธ์สาขาวิสาหกิจชุมชนและธุรกิจชุมชน ประจำปี 2555 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

2 กุมภาพันธ์ 2556 คุณอภิญญา กลมเกลียว ได้รับเกียรติบัตรเป็นวิทยากรเสวนาการเกษตร เรื่องภูมิปัญญาข้าวฮางสร้างมูลค่าเพิ่ม ในงานวันเกษตรภาคอีสาน ประจำปี 2556 จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาลัยขอนแก่น ร่วมกับสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันขอนแก่น

3 กุมภาพันธ์ 2556 กลุ่มข้าวฮางงอกหอมทองสกลทวาปี ได้รับเกียรติบัตรร่วมออกร้านในงานเสวนาการเกษตร งานวันเกษตรภาคอีสาน ประจำปี 2556 จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาลัยขอนแก่น ร่วมกับสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันขอนแก่น

6 มีนาคม 2557 คุณอภิญญา กลมเกลียว ได้รับโล่เกียรติคุณผู้หญิงเก่งปี2557สาขาผู้ริเริ่มธุรกิจ จากสถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา สมาคมสิงเสริมสถานภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ


 







ความคิดเห็น

บทความ mo.skn

บทความ 1Poverty