วิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก (SWOT)

จุดแข็ง

1.       ผลิตข้าวฮางงอกที่มีคุณภาพ เพราะถ้าผลิตไม่ได้คุณภาพคนก็จะไม่ซื้อ ทางกลุ่มสมาชิกทุกคนต้องเข้าใจและใส่ใจในการผลิตทุกขึ้นตอน
2.       มีระบบการตลาดที่เข้มแข็ง เพราะได้ประชาสัมพันธ์คุณค่าทางอาหารและประโยชน์ของของฮางงอกสร้างความน่าเชื่อถือความมั่นใจและเป็นที่ยอมรับให้กับผู้จากผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
3.       ส่งสินค้าข้าวฮางงอกไปขายในต่างประเทศ เช่น จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง ปีละประมาณ 100 ตัน
4.       ราคาสินค้ามีความคงที่ไม่ขึ้นลงตามราคาข้าวที่รัฐบาลกำหนด จำหน่วยราคาตั้งแต่ 70-80 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม
5.       ออกแบบตราสินค้าบรรจุภัณฑ์และรูปลักษณ์เอง และมีผู้บริโภคชมว่ามีความสวยงามและดึงดูดใจได้เป็นอย่างดี ทางกลุ่มได้เป็นผู้นำในเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์
6.       สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในหมู่บ้านและใกล้เคียง
7.       มีผู้นำที่เข้มแข็งทุ่มทั้งเทแรงกายและแรงใจในการบริหารงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ
8.       มีความปลอดภัยในการผลิตข้าวฮางงอกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
9.       เป็นแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจได้เข้ามาดูงาน หรือทำงานวิจัย

จุดอ่อน

1.       ยังขาดอุปกรณ์เครื่องจักรบางชนิดเพื่อใช้ขั้นตอนการผลิต เช่น เครื่องนึ่งข้าวไอน้ำ เครื่องแยกสีของเมล็ดข้าว เครื่องเพิ่มออกซิเจนในขั้นตอนการแช่ เพราะในอนาคตถ้าส่งออกข้าวไปต่างประเทศมาขึ้นจำเป็นต้องมีเครื่องพวกนี้
2.       กลุ่มวิสาหกิจอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง ซึ่งมีความยากลำบากต่อการเดินทางเข้าถึง และการกระจายสินค้าออก
3.       มีพื้นที่ในการผลิตสินค้าที่คับแคบ ยากต่อการวางสิ่งของหรืออุปกรณ์ในการผลิต และการสต็อกจัดเก็บสินค้า
4.       ยานพาหนะไม่เพียงพอต่อการกระจายสินค้า
5.       สมาชิกบางคนยังขาดความเอาใจใส่และทักษะในขั้นตอนการผลิตข้าวฮางงอกให้มีคุณภาพ

โอกาส

1.       ได้รับการสนับสนุนงบประมาณและเครื่องจักรจากรัฐบาลและหน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร สำนักงานเกษตรอำเภอโพนนาแก้ว
2.       หน่วยงานราชการพาไปอบรมพัฒนาทักษะความรู้ และไปศึกษาดูงานที่ต่างประเทศเพื่อหาตลาดในต่างประเทศ
3.       หน่วยงานภาครัฐได้เข้ามาช่วยประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วประเทศได้รู้จักข้าวฮางงอก ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดีเป็นอย่างมาก
4.       มีการเจรจาการขายข้าวฮางงอกในห้างสรรพสินค้า เช่น เซ็นทรัล โรบินสัน โลตัส บิ๊กซี
5.       ได้รับมาตรฐาน GMP ที่เป็นสากล (มาตรฐานการผลิตอาหาร) และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อีกหลายโครงการสามารถสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคได้
6.       ได้รับเกียรติบัตรและโล่เชิดชูเกียรติจากรัฐบาลหลายหน่วยงาน เพื่อเป็นการสร้างกำลังใจให้กับสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ
7.       การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ถือได้ว่าเป็นตลาดการขายข้าวฮางใหม่ ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างศึกษาข้อมูลและต้องให้ภาครัฐเข้ามาช่วยในการพูดคุยเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
8.       ไปรษณีย์ไทยจะส่งสินค้าจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้ทั่วประเทศโดยคิดบริการแค่ครั้งละ 5 บาท

อุปสรรค

1.       สินค้าที่นำส่งออกไปต่างประเทศ จะถูกปลอมแปลงทำให้เสียชื่อเสียงและคุณภาพของข้าวฮางลดลง
2.       มีข้อกฎหมายการค้าขายระหว่างประเทศ มีความซับซ้อนและยุ้งยากทำให้เสียโอกาสในการหาตลาดใหม่ ๆ
3.       กลุ่มสมาชิกผู้ปลูกข้าวมีผลผลิตหรือมีมาตรฐานที่ต่ำ เพราะส่วนใหญ่จะปลูกข้าวแบบหว่านแล้วไม่ได้ดูแลทำให้เมล็ดข้าวไม่ค่อยสมบูรณ์
4.       การเมืองไม่สงบทำให้การพูดคุยเจรจาทำการค้าระหว่างประเทศต้องหยุดรอไปก่อน

ความคิดเห็น

บทความ mo.skn

บทความ 1Poverty